วันอังคารที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายส่วนบุคคล เครือข่ายส่วนบุคคล หรือแพน(Personal Area Network : PAN) เป็นเครือขข่ายที่ใชช้ส่วนบุคคล ซึ่งเป็นการต่อแบบไร้สายในระยะใกล้ เช่น การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับโทรศํพท์มือถือ การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับเครื่องพีดีเอ เป็นต้น เครือข่ายเฉพาะที่ เครือข่ายเฉพาะที่ หรือแลน (Local Area Network : LAN) เป็นเครือข่ายขนาดเล็กซึ่งเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสารที่อยู่ในท้องที่บริเวณเดียวกันเข้าด้วยกัน เช่น ภายในอาคาร หรือภายในองค์การที่มีระยะทางไม่ไกลมากนัก เป็นต้น โดยคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะต่อเข้ากับอุปกรณ์เครือข่าย เช่น ฮับ สวิตช์ เป็นต้น ซึ่งอุปกรณ์เครือข่ายแต่ละตัวจะเชื่อมต่อกันโดยใช้สายตีเกลียวคู่ สายใยแก้วนำแสงหรือคลื่อนวิทยุ และเครือข่ายแลนจะเชื่อมต่อถึงกันด้วยอุปกรณ์จัดเส้นทาง (router) การสร้างเครือข่ายแลนนี้แต่ละองค์กร สามารถดำเนินการเองได้ โดยการวางสายสัญญาณสื่อสารภายในอาคารหรือภายในพื้นี่ของตนเอง เครือข่ายแลนมี่ตั้งแต่เครือข่ายขนาดเล็กที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองเครื่องขึ้นไปภายในห้องเดียวกัน จนถึงเชื่อมโยงระหว่างห้องหรือองค์การขนาดใหญ่ เช่น ภายในสำนักงาน ภายในโรงเรียนหรือในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องที่เชื่อมต่อกัน สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้อย่าง สะดวก รวดเร็ว และยังสามมารถใช้ทรัพยากรร่วมกันได้อีกด้วย เครือข่ายนครหลวง เครือข่ายนครหลวง หรือแมน (Metropolitan Area Network : MAN) เป็นเครือข่าย ที่เชื่อมโยงแลนที่อยู่ห่างกัน เช่น ระหว่างสำนักงานที่อยู่อคนละอาคาร ระบบเคเบิลทีวีตามบ้านในปัจจุบัน เป็นต้น โดยมีลักษณะการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ที่มีระยะห่างไกลกันในช่วง 5-40 กิโลเมตร ผ่านสายสื่สารประเภทสายใยแก้วนำแสง สายโคแอกเชียล หรืออาจใช้คลื่อนไมโครเวฟ เครือข่ายวงกว้าง เครือข่ายวงกว้าง หรือแวน (Wind Area Network : WAN) เป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงระบบคอมพิวเตอร์ในระยะห่างไกล มีการติดต่อสื่อสารกันในบริเวณกว้าง เช่น เชื่อมโยงระหวา่จังหวัด ระหว่างประเทศ เป็นต้น จาก http://th.wikipedia.org

เทคโนโลยีการรับส่งข้อมูลในเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เทคนิคการส่งข้อมูลผ่านสื่อกลาง 1.1 การส่งข้อมูลแบบเบสแบนด์ (Baseband) การส่งข้อมูลในระบบเบสแบนด์นั้น จะมีช่องทางสื่อสารเพียงช่องทางเดียว ดังนั้นจึงต้องมีเทคนิคในการจัดการข้อมูล เพื่อป้องกันการชนกันของข้อมูล ซึ่งเทคนิคที่นิยมใช้กันคือเทคนิค CSMA / CD ( Carrier Sense Multiple Access with Collision Detection ) โดยอุปกรณ์ที่จะส่งข้อมูลนั้นจะ คอยตรวจสอบว่า มีอุปกรณ์อื่นกำลังส่งข้อมูลอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็จะคอยก่อน ถ้าไม่มีหรือว่าง ก็จะทำการส่งข้อมูลทันที ซึงระบบเครือข่าย LAN จะใช้วิธีการส่ง ข้อมูลแบบชนิดนี้ 1.2 การส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์ (Broadband) การส่งข้อมูลแบบบรอดแบนด์นี้ จะเป็นการส่งข้อมูลหลายช่องทาง ด้วยความถี่ที่แตกต่างกันโดยใช้สายสัญญาณของคลื่นวิทยุในการส่งข้อมูล สัญญาณเดียวหรือหลายสัญญาณบนสายส่งข้อมูลเส้นเดียว เช่นการส่งข้อมูลพร้อมกับเสียงและสัญญาณวีดิโอ สายสัญญาณชนิดนี้ราคาค่อนข้างแพง เมื่อเทียบกับสายแบบเบสแบนด์ ที่มา 
http://www.chakkham.ac.th

ประโยชน์ของการสื่อสารข้อมูล

ความสำคัญของการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เป็นสิ่งที่ตระหนักกันอย่างมากในปัจจุบัน ด้วยเหตุว่าการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีประโยชน์หลายประการด้วยกันคือ 1. จัดเก็บข้อมูลได้ง่ายและสื่อสารได้รวดเร็ว การจัดเก็บข้อมูลซึ่งอยู่ในรูปของสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ สามารถจัดเก็บไว้ในแผ่นบันทึก (Diskette) ที่มีความหนาแน่นสูงได้ แผ่นบันทึกแผ่นหนึ่งสามารถบันทึกข้อมูลได้มากกว่า 1 ล้านตัวอักษร สำหรับการสื่อสารข้อมูลนั้น ถ้าข้อมูลผ่านสายโทรศัพท์ได้ด้วยอัตรา 120 ตัวอักษรต่อวินาทีแล้ว จะสามารถส่งข้อมูล 200 หน้า ได้ในเวลา 40 นาที โดยที่ไม่ต้องเสียเวลามานั่งป้อนข้อมูลเหล่านั้นซ้ำใหม่อีก 2. ความถูกต้องของข้อมูล โดยปกติมีการส่งข้อมูลด้วยสัญญาณทางอิเล็กทรอนิกส์ จากจุดหนึ่งไปยังจุดอื่นด้วยระบบดิจิทัล วิธีการรับส่งนั้นจะมีการตรวจสอบสภาพของข้อมูล หากข้อมูลผิดพลาดก็จะมีการรับรู้และพยายามหาวิธีการแก้ไขให้ข้อมูลที่ได้รับมีความถูกต้อง โดยอาจให้ทำการส่งใหม่หรือกรณีผิดพลาดไม่มาก ฝ่ายผู้รับอาจใช้โปรแกรมของตนเองแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องได้ 3. ความเร็วของการทำงาน สัญญาณทางไฟฟ้าจะเดินทางด้วยความเร็วเท่าแสง ทำให้การใช้คอมพิวเตอร์ส่งข้อมูลจากซีกโลกหนึ่งไปยังอีกซีกโลกหนึ่งหรือค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลขนาดใหญ่ สามารถทำได้อย่างรวดเร็ว ความรวดเร็วของระบบจะทำให้ผู้ใช้สะดวกสบายอย่างยิ่ง เช่น บริษัทสายการบินทุกแห่งสามารถทราบข้อมูลของทุกเที่ยวบินได้อย่างรวดเร็ว ทำให้การจอง ที่นั่งของสายการบินสามารถทำได้ทันที 4. ต้นทุนประหยัด การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ต่อเข้าหากันเป็นเครือข่าย เพื่อส่งหรือสำเนาข้อมูลทำให้ราคาต้นทุนของการใช้ข้อมูลไม่แพง เมื่อเทียบกับการจัดส่งแบบวิธีอื่น นักคอมพิวเตอร์บางคนสามารถส่งโปรแกรมให้กันและกันผ่านทางสายโทรศัพท์ได้ ที่มา

http://allit2day.com/archives/279

โพรโทคอล (protocol)

คือ ข้อกำหนดหรือข้อตกลที่ใช้ควบคุมการสื่อสารข้อมูลในเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นการสื่อสารข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์เครือข่าย ที่ใช้โพรโทคอลชนิดเดียวกันเท่านั้น จึงจะสามารถติดต่อและส่งข้อมูลระหว่างกันได้ โพรโทรคอลจึงมีลักษณะ เช่นเดียวกับภาษาภาษาที่ใช้ในการสื่อสารของมนุษย์ที่ต้องใช้ภาษาเดียวกัน จึงสาามารถสื่อสารกันได้เข้าใจ สำหรับในเครือข่าย โพรโทคอลจะเป็นตัวกำหนดลักษณะหรือองค์ประกอบต่างๆ ที่ใช้ในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการแทนข้อมูล วิธีการในการรับ-ส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณรับ-ส่ง อุปกรณ์หรือสื่อกลางในการส่งข้อมูล การกำหนดหรือการอ้างอิงตำแหน่ง การตรวจสอบความผิดพลาด ของข้อมูล รวมถึงความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล มาตรฐานกลางที่ใช้ในการส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย คือ มาตรฐาน OSI (Open Systems Interconnection Model) ซึ่งทำให้ทั้งคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่างๆ สามารถเชื่อมโยงและใช้งานในเครือข่ายได้ ในปี ค.ศ.1977 องค์กร ISO (International Organization for Standard) ได้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นกลุ่มหนึ่ง เพื่อทำการศึกษา จัดรูปแบบมาตรฐาน และพัฒนาสถาปัตยกรรมเครือข่าย และในปี ค.ศ.1983 องค์กร ISO ก็ได้ออกประกาศรูปแบบของสถาปัตยกรรมเครือข่ายมาตรฐาน ในชื่อของ "รูปแบบ OSI" (Open Systems Interconnection Model) เพื่อใช้เป็นรูปแบบมาตรฐานในการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ อักษร "O" หรือ " Open" ก็หมายถึง การที่คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์หนึ่งสามารถ "เปิด" กว้างให้ คอมพิวเตอร์หรือระบบคอมพิวเตอร์อื่นที่ใช้มาตรฐาน OSI เหมือนกันสามารถติดต่อไปมาหาสู่ระหว่างกันได้

ที่มา http://kruudsa2011.wordpress.com

ความหมายและพัฒนาการของการสื่่อสารข้อมูล


การสื่อสารข้อมูล (Data Communications) หมายถึง กระบวนการถ่ายโอนเปลี่ยนข้อมูลกันระหว่างผู้ส่งและผู้รับ
วิธีการส่งข้อมูล จะแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณ หรือรหัสเสียก่อนแล้วจึงส่งไปยังผู้รับ และเมื่อถึงปลายทางหรือผู้รับก็จะต้องมีการแปลงสัญญาณนั้น กลับมาให้อยู่ในรูปที่มนุษย์ สามารถที่จะเข้าใจได้
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบ
องค์ประกอบขั้นพื้นฐานของระบบสื่อสารโทรคมนาคม สามารถจำแนกออกเป็นส่วนประกอบได้ดังต่อไปนี้            
1. ผู้ส่งข่าวสารหรือแหล่งกำเนิดข่าวสาร (source) อาจจะเป็นสัญญาณต่าง ๆ เช่น สัญญาณภาพ
ข้อมูล และเสียงเป็นต้น
ในการติดต่อสื่อสารสมัยก่อนอาจจะใช้แสงไฟ ควันไฟ หรือท่าทางต่าง ๆ ก็นับว่าเป็นแหล่งกำเนิดข่าวสาร
จัดอยู่ในหมวดหมู่นี้เช่นกัน


 2. ผู้รับข่าวสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสาร (sink) ซึ่งจะรับรู้จากสิ่งที่ผู้ส่งข่าวสาร หรือแหล่งกำเนิดข่าวสารส่งผ่านมาให้ตราบใดที่การติดต่อสื่อสารบรรลุวัตถุประสงค์ ผู้รับสารหรือจุดหมายปลายทางของข่าวสารก็จะได้รับข่าวสารนั้น ๆ ถ้าผู้รับสารหรือ จุดหมายปลายทางไม่ได้รับข่าวสาร ก็แสดงว่าการสื่อสารนั้นไม่ประสบความสำเร็จ กล่าวคือไม่มีการสื่อสารเกิดขึ้นนั่นเอง

3. ช่องสัญญาณ (channel) ในที่นี้อาจจะหมายถึงสื่อกลางหรือตัวกลางที่ข่าวสารเดินทางผ่าน อาจจะเป็นอากาศ สายนำสัญญาณต่าง ๆ หรือแม้กระทั่งของเหลว เช่น น้ำ น้ำมัน เป็นต้น 
 
             
4. การเข้ารหัส (encoding) เป็นการช่วยให้ผู้ส่งข่าวสารและผู้รับข่าวสารมีความเข้าใจตรงกันในการสื่อความหมาย จึงมีความจำเป็นต้องแปลง
ความหมายนี้
การเข้ารหัสจึงหมายถึงการแปลงข่าวสารให้อยู่ในรูปพลังงาน ที่พร้อมจะส่งไปในสื่อกลาง
ทางผู้ส่งมีความเข้าใจต้องตรงกันระหว่าง ผู้ส่งและผู้รับ หรือมีรหัสเดียวกัน การสื่อสารจึงเกิดขึ้นได้    

          
5. การถอดรหัส (decoding) หมายถึงการที่ผู้รับข่าวสารแปลงพลังงานจากสื่อกลางให้กลับไปอยู่ในรูปข่าวสารที่ส่งมาจากผู้ส่งข่าวสาร โดยมีความเข้าในหรือรหัสตรงกัน 6. สัญญาณรบกวน (noise) เป็นสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติ มักจะลดทอนหรือรบกวนระบบ อาจจะเกิดขึ้นได้ทั้งทางด้านผู้ส่งข่าวสาร ผู้รับข่าวสาร และช่องสัญญาณ
กรองสัญญาณแต่ต้นทาง
เพื่อให้การสื่อสารมีคุณภาพดียิ่งขึ้นแล้วค่อยดำเนินการ เช่น การเข้ารหัสแหล่งข้อมูล
เป็นต้น

ที่มา   http://www.v-bac.ac.th

วันจันทร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2555

เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายในยุคต่างๆ

ยุค 1G เป็นยุคที่ใช้สัญญาณวิทยุในการส่งคลื่อนเสียง โดยไม่รองรับการส่งผ่านข้อมูลใดๆทั้งสิ้น สามารถใช้งานทางด้านเสียงได้อย่างเดียว คือ สามารถโทรออก-รับสายเท่านั้น ถือเป็นยุคแรกของการพัฒนาระบบโทรศัพท์แบบเซลลลูลาร์ โดยใช้วิธีการปรับสัญญาณแอนะล็อกเข้ช่องสื่อสาร ซึ่งแบ่งความถี่ออกเป็นช่องเล็กๆ ด้วยวิธีการดังนี้ จึงมีข้อจำกัดในช่องจำนวนและการใช้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เกิดการติดขัดเรื่องการขยายจำนวนเลขหมายและการขยายแถบความถี่  ซึ่งโทรศัพท์แบบเซลลูลาร์ยังมีขนาดใหญ่ และใช้กำลังไฟฟ้ามากอีกด้วย


ยุค 2G เป็นยุคที่เปลี่ยนจากการส่งคลื่นทางคลื่นวิทยุแบบแอนะล็อกมาเป็นการใช้สัญญาณดิจิทัล โดยส่งผ่านทางคลื่นไมโครเวฟ ทำให้สามารถใช้งานทางด้านข้อมูลได้นอกเหนือจากการใช้งานทางเสียงเพียงอย่างเดียว โดยสามารถรับส่งข้อมูลต่างๆ และเชื่อมโยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ จนเกิดการกำหนดเส้นทางการเชื่อมกับสถานีฐานหรือที่เรียกว่า เซลล์ไซต์ (cell site) และก่อให้เกิดระบบ GSM  (Globel System for Mobile Communication) ซึ่งทำให้สามารถถือโทรศัพท์เครื่องเดียวไปใช้ได้เกือบทั่วโลก หรือรียกว่า บรการข้ามเครือข่าย (roaming)

ยุค 3G ใช้บริการมัลติมีเดีย และส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น มีความเร็วในการดาวน์โหลดข้อมูลสูงสุด 2 เมกกะบิตต่อวินาที หรือเร็วกว่าเครือข่าย EDGE ที่ใช้ในปัจจุบันเกือบ 10 เท่า มีช่องสัญญาณความถี่ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากก่วา เข้าถึงอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถใช้การสนทนาแบบเห็นหน้า (video telephony) และการประชุมทางไกลผ่่านวิดีโอ (video conference) ช่วยให้สามารถสื่อสารได้พร้อมกันทั้งภาพและเสียง รับชมโทรทัศน์หรือวิดีโอผ่านอินเตอร์เน็ตในรูปแบบดิจิทัล ซึ่งมีสัญญาณภาพที่คมชัด และสามารถใช้บริการข้ามเครือข่าย (roaming) ได้เช่นเดียวกับระบบ GSM

ยุค 4G เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ มีความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 เมกกะบิตต่อวินาที สาารถเชื่อมต่อเสมืออนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional : 3D) ระหว่งผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเองโดยให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเตอร์เน็ตไร้สาย เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น


จาก www.ericsson_hotline.jpg, www.spd_20100118195634_b.jpg ,
www.00249_iphone_hero.jpg, www.002.jpg   และจากหนังสือเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2


วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บรอดแบนด์

บรอดแบนด์คือ ระบบการสื่่อสารที่มีความเร็วสูง รับปริมาณการสื่อสารได้มากมายหลายช่องสัญญาณ ซึ่งปัจจุบันระบบบอรดแบรนด์ในประเทศไทยได้เข้ามาสู่ผู้ใช้งานในบ้านแล้ว ด้วยบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Asymmetric Digital Subscripber Line : ADS L) ซึ่งทำให้บริการอินเตอร์เน็ตมีความเร็วสูงสุดมากกว่า2.0 เมกะบิตต่อวินาที แต่ในทางธุรกิจโทรคมนาคม คำว่าบรอดแบรนด์ อาจหมายถึง ระดับความเร็วที่มากกว่าหรือเท่ากับ 256 กิโลบิตต่อวินาที ดังนั้นจึงถือว่าระดับความเร็ว 256 กิโลบิตต่อวินาที เป็ฯระดับความเร็วขั้ต่ำสุดของบรอดแบรนด์นั่นเอง


ภาพจาก  www.clip_image019.gif
ข้อมูลจาก  หนังสือเทคโนโลยีสื่อสารสนเทศและการสื่อสารชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2